คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย
2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย
3. ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ
4. การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด
อ้างอิง
จากหนังสือ คอมพิวเตอร์และการประยุกต์ทางธุรกิจ
(เรียบเรียงโดย อ.ณัฐฌาน สุพล)
Welcome to blog
Rapipan Nuang-ud
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในองค์กร
รายวิชา 213240 บทที่ 3 ระบบสารสนเทศและการตัดสินใจ
เรื่อง การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กร แบ่งเป็น 3 ระบบ
1. ระดับสูง – ใช้สารสนเทศเพื่อวางแผนระยะยาว ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดทิศทางและแผนงานในอนาคต(ระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป) รวมทั้งมีการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และ วัตถุประสงค์ขององค์กร
2. ระดับกลาง – ใช้สารสนเทศเพื่อให้องค์กรดำเนินการต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ภายใต้กลยุทธ์ในแผนระยะยาว จึงเป็นการกำหนดงานและยุทธวิธีที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ งานเหล่านี้จะระบุในแผนระยะสั้น (ประมาณ 1 – 3 ปี)
3. ระดับปฏิบัติการ – ใช้กำหนดกิจกรรมหรือพันธกิจภายใต้กลวิธีให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงภายใต้ภาระงานด้านต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในแผนระยะสั้น จึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศภายในองค์กรเป็นส่วนใหญ่ สำหรับจัดทำแผนปฏิบัติการล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี
อ้างอิง
เรื่อง การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กร แบ่งเป็น 3 ระบบ
1. ระดับสูง – ใช้สารสนเทศเพื่อวางแผนระยะยาว ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดทิศทางและแผนงานในอนาคต(ระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป) รวมทั้งมีการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และ วัตถุประสงค์ขององค์กร
2. ระดับกลาง – ใช้สารสนเทศเพื่อให้องค์กรดำเนินการต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ภายใต้กลยุทธ์ในแผนระยะยาว จึงเป็นการกำหนดงานและยุทธวิธีที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ งานเหล่านี้จะระบุในแผนระยะสั้น (ประมาณ 1 – 3 ปี)
3. ระดับปฏิบัติการ – ใช้กำหนดกิจกรรมหรือพันธกิจภายใต้กลวิธีให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงภายใต้ภาระงานด้านต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในแผนระยะสั้น จึงจำเป็นต้องใช้สารสนเทศภายในองค์กรเป็นส่วนใหญ่ สำหรับจัดทำแผนปฏิบัติการล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี
อ้างอิง
จากหนังสือ คอมพิวเตอร์และการประยุกต์ทางธุรกิจ
(เรียบเรียงโดย อ.ณัฐฌาน สุพล)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)